วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

คำอธิบายรายวิชางานเกษตร

คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา    การผลิตพันธุ์ไม้                                                                     รหัสวิชา  ง ๒๐๒๔๑                                
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ     ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น        ภาคเรียนที่ ๒
เวลา ๔๐  ชั่วโมง                                                                                 จำนวน   ๑   หน่วยกิต
       ศึกษาความหมาย  ความสำคัญ  และประโยชน์ของการผลิตพันธุ์ไม้  วัสดุอุปกรณ์  สถานเพาะชำการผลิตพันธุ์ไม้  โดยวิธีการเพาะเมล็ด  ปักชำ  การตอน  การต่อกิ่ง  การทาบกิ่ง  และการติดตา  ข้อดีข้อเสียของการผลิตพันธุ์ไม้ของแต่ละประเภท กระบวนการของการผลิตพันธุ์ไม้  การเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับวิธีการและชนิดของพืช  การอนุบาลกล้าไม้
       ฝึกปฏิบัติให้เกิดทักษะในการทำงาน  มีความรู้ความเข้าใจในงานอาชีพ  มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์  ประหยัด  อดทน  มีค่านิยมในการเป็นผู้ผลิตมากกว่าผู้บริโภค  มีทักษะในการจัดการและนำความรู้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ผลการเรียนรู้
       ๑.  บอกความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของการผลิตพันธุ์ไม้ได้
       ๒.  เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการผลิตพันธุ์ไม้แบบต่างๆได้
      ๓.  บอกหลักการ วิธีการและขั้นตอนการผลิตพันธุ์ไม้แบบต่างๆ
      ๔.  เลือกใช้และเก็บรักษาเครื่องมือและวัสดุอุปกรณ์ และผลิตพันธุ์ไม้ได้
      ๕.  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการทำงาน
      ๖.  ทำงานตามความรับผิดชอบ ขยัน ซื่อสัตย์ ประหยัดอดออมและอดทน
      ๗.  ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างคุ้มค่าและถูกวิธี
      ๘.  สามารถวิเคราะห์วางแผนและปฏิบัติงานได้ถูกต้องเหมาะสม
      ๙.  ทำงานในฐานะผู้นำ/ผู้ตาม และสร้างสัมพันธภาพที่ดีในกลุ่ม
     ๑๐.  สืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการทำงานจากแหล่งความรู้ตามวิธีที่หลากหลาย
     ๑๑.  สร้างทางเลือกในการแก้ปัญหาอย่างหลากหลาย และเลือกทางเลือกที่เหมาะสม
     ๑๒.  มีความมุ่งมั่นทำงานจนสำเร็จ ทำงานอย่างมีความสุข ประณีต รอบคอบ และปลอดภัย
     ๑๓.  ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับวิธีการผลิตพันธุ์ไม้
     ๑๔.  มีเจตคติ แนวคิดที่ดีต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน
     ๑๕.  นำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในชีวิตประจำวัน และเป็นแนวทางในการประกอบอาชีพต่อไปได้

รวมทั้งหมด  ๑๕  ผลการเรียนรู้




คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา การผลิตปุ๋ยอินทรีย์                                                                       รหัสวิชา  ง ๒๐๒๔๒                                 
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ     ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น         ภาคเรียนที่ ๑
เวลา ๔๐  ชั่วโมง                                                                                 จำนวน   ๑   หน่วยกิต
         ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของปุ๋ยอินทรีย์ การใช้วัสดุ-ทรัพยากรทางธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อนำมาผลิต การใช้เครื่องมือ-อุปกรณ์ในการผลิต การนำปุ๋ยอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ โดยประยุกต์ใช้เทคโนโลยี  ภูมิปัญญาและแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น รวมทั้งสื่ออิเล็กทรอนิกส์ได้อย่างเหมาะสมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยการสำรวจ วิเคราะห์ข้อมูลการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในท้องถิ่น/ชุมชน การเลือกวัสดุ/ทรัพยากรธรรมชาติ  รวมทั้งเศษสิ่งเหลือใช้ในท้องถิ่นมาผลิตปุ๋ยอินทรีย์  ปฏิบัติการทำปุ๋ยอินทรีย์  การนำปุ๋ยอินทรีย์ไปใช้ประโยชน์ การจัดทำบรรจุภัณฑ์  การคำนวณค่าใช้จ่าย  การกำหนดราคาขาย  การจัดจำหน่าย  การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย  และการประเมินผล

ผลการเรียนรู้
๑.      นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์
๒.      นักเรียนสามารถสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตปุ๋ยอินทรีย์จากสื่อ/แหล่งเรียนรู้/ภูมิปัญญาได้
๓.      นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเภทของปุ๋ยอินทรีย์ และวัสดุ-อุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตได้
๔.      นักเรียนเตรียมวัสดุเพื่อใช้ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้
๕.      ผลิตปุ๋ยอินทรีย์แต่ละประเภทได้
๖.      นำปุ๋ยอินทรีย์แต่ละประเภทไปทดลองใช้กับพืชที่กำหนดให้ได้
๗.      จัดทำโครงงานการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้

รวมทั้งหมด  ๗  ผลการเรียนรู้











คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา การขยายพันธุ์พืช                                                                        รหัสวิชา  ง ๒๐๒๔๓                                  
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ     ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น         ภาคเรียนที่ ๑
เวลา ๔๐  ชั่วโมง                                                                                 จำนวน    ๑  หน่วยกิต
       ศึกษาความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ ประเภทของการขยายพันธุ์พืช สิ่งก่อสร้างและเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับการขยายพันธุ์พืช การขยายพันธุ์พืชโดยการใช้เพศ การขยายพันธุ์พืชโดยไม่ใช้เพศ การอนุบาลพันธุ์ไม้ และการปลูกพืชในภาชนะ/ปลูกในแปลง
       ปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชโดยการเพาะเมล็ด การตัดชำ การตอนกิ่ง การติดตา การต่อกิ่ง การอนุบาลพันธุ์ไม้ ที่ได้จากการขยายพันธุ์และปลูกพืชในภาชนะ/ลงดิน นำพันธุ์ไม้ไปตกแต่งอาคารสถานที่ดูแลรักษาให้สวยงาม
       เพื่อให้ผู้เรียน มีความรู้ความเข้าใจมีทักษะในการปลูกและขยายพันธ์พืช ใช้พลังงานทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ด้วยความมีวินัย  ใฝ่เรียนรู้ ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงานมีความรับผิดชอบ  อยู่อย่างพอเพียง  มีเจตคติต่องานและอาชีพที่สุจริต สามารถนำความรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาใช้ในการขยายพันธุ์พืชได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

ผลการเรียนรู้
         ๑.  สรุป ความหมาย ความสำคัญ ประโยชน์ และจำแนกประเภทของการขยายพันธุ์พืชได้
         ๒. เลือกใช้และเก็บรักษาเครื่องมือ วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการขยายพันธุ์พืช ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
         ๓. สรุปขั้นตอนและปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชแบบใช้เพศ ได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน วิธีการต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามขั้นตอน
         ๔. สรุปขั้นตอนและปฏิบัติการขยายพันธุ์พืชแบบไม่ใช้เพศ ได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอนวิธีการต่าง ๆ ได้ถูกต้องตามขั้นตอน
         ๕. อนุบาลพันธุ์ไม้ และปลูกพืชในภาชนะ/ลงดินได้อย่างถูกต้องตามขั้นตอน

รวมทั้งหมด  ๕  ผลการเรียนรู้









คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา  การปลูกไม้ดอกไม้ประดับ                                                             รหัสวิชา  ง ๒๐๒๔๔                                 
กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ       ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น       ภาคเรียนที่ ๑
เวลา ๔๐  ชั่วโมง                                                                                 จำนวน   ๑  หน่วยกิต
       ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของไม้ดอกประดับที่เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น  ประเภทของไม้ดอกประดับ  สภาพดินฟ้าอากาศ  พันธุ์และการขยายพันธุ์  การเตรียมดินอุปกรณ์ที่ใช้ปลูก  การปลูก การปฏิบัติดูแลรักษาในเรือนเพาะชำ ในแปลงปลูกและในภาชนะปลูกการป้องกันโรคและกำจัดศัตรู การเตรียมไม้ดอกประดับให้มีสภาพ
       วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของตลาด  เลือกปลูกไม้ดอกประดับอย่างน้อย 2 ชนิด ปฏิบัติงานเตรียมดินปลูก เลือก และใช้วัสดุปลูก  เลือกใช้วิธีการปลูกที่เหมาะสมกับชนิดของพืช  ดูแลรักษา จัดเตรียมผลิตผลส่งจำหน่าย  คำนวณค่าใช้จ่าย  กำหนดราคาขาย จัดจำหน่าย  จดบันทึกการปฏิบัติงาน ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และประเมินผล                                                                                         
       เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจและมีทักษะในการปลูกไม้ดอกประดับได้เหมาะสมตามเวลาที่ต้องการ และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานการปลูกไม้ดอกประดับ เห็นแนวทางในการปฏิบัติงาน  การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและการพัฒนางานให้เหมาะสมสอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม ตระหนักในความสำคัญของการทำงานอย่างมีขั้นตอนและมีความรับผิดชอบ

ผลการเรียนรู้
๑. ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการผลิตไม้ดอกประดับ
๒. ศึกษาข้อมูลก่อนการปลูกไม้ดอกประดับ
๓. สามารถเตรียมพันธุ์ไม้ดอกประดับได้
๔. สามารถเตรียมดินและวัสดุอุปกรณ์
๕. สามารถปลูกไม้ดอกประดับได้
๖. สามารถขยายพันธุ์โดยการใช้เมล็ดและส่วนต่างๆได้
๗. สามารถให้น้ำได้
๘. สามารถให้ปุ๋ยได้
๙. ปฏิบัติดูแลรักษาป้องกันโรคและแมลง
๑๐.  เก็บเกี่ยวผลผลิตได้

รวมทั้งหมด  ๑๐  ผลการเรียนรู้




คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา การปลูกพืชผักสวนครัว                                                                รหัสวิชา  ง  ๒๐๒๔๕                                  
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ     ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น          ภาคเรียนที่ ๒
เวลา ๔๐  ชั่วโมง                                                                                 จำนวน   ๑   หน่วยกิต
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของพืชผักสวนครัว เช่น ขิง ตะไคร้  พริก โหระพา  ฯลฯ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม  การเตรียมดินปลูก แปลงเพาะ แปลงปลูก วิธีการปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา การเก็บเกี่ยว
วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของตลาด  เลือกปลูกพืชผักสวนครัวอย่างน้อย 2 ชนิด ปฏิบัติงานเตรียมดินปลูก  เพาะเมล็ดพืชผัก  ย้ายปลูกหรือปลูกด้วยการแยกแบ่ง ปักชำ ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว และจัดผลิตผลจำหน่าย คำนวณค่าใช้จ่าย กำหนดราคาขายและจัดจำหน่าย จดบันทึกการปฏิบัติงาน ทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายและประเมินผล                                                                                          
          เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ  มีทักษะในการปลูกพืชผักสวนครัว  จำหน่ายได้ และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานการปลูกพืชผักสวนครัว เห็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและการพัฒนางานให้เหมาะสมสอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม ตระหนักในความสำคัญของการทำงานอย่างมีขั้นตอน และมีความรับผิดชอบ

ผลการเรียนรู้
๑. อธิบายความหมาย  ความสำคัญของการผลิตพืช
๒. บอกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืช
๓. สามารถปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาพืช
๔. บอกความปลอดภัยในการผลิตพืช
๕. บอกความสำคัญของพืชผักสวนครัว
๖. บอกขั้นตอนการผลิตพืชผักสวนครัวได้
๗. สามารถผลิตพืชผักสวนครัวบางชนิดได้
๘. บอกความหมายและความสำคัญของวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวได้
๙. สามารถแปรรูปผลผลิตพืช

รวมทั้งหมด  ๙  ผลการเรียนรู้





คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา การปลูกพืชผักทั่วไป                                                                    รหัสวิชา  ง  ๒๐๒๔๖                                 
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ     ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น          ภาคเรียนที่ ๒
เวลา  ๔๐  ชั่วโมง                                                                                 จำนวน   ๑  หน่วยกิต
ศึกษาความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของพืชผักทั่วไป เช่น ผักกาด ผักคะน้า กะหล่ำปลี ฯลฯ การจำแนกและการแบ่งชนิดของพืชผัก ทำเลที่เหมาะสมสำหรับสวนผัก ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของพืชผัก ลักษณะของเมล็ดพันธุ์ที่ดี การเตรียมดินปลูก การปฏิบัติดูแลรักษา การป้องกันโรคและกำจัดศัตรู การเก็บเกี่ยว และการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว การถนอมอาหารและการแปรรูปวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของตลาด  เลือกปลูกผักอย่างน้อย ๓ ชนิด ปฏิบัติงานเตรียมดินปลูก  ทำแปลงเพราะเมล็ด  ทดสอบการงอกของเมล็ด เพาะเมล็ด หว่านเมล็ด ย้ายกล้า ปลูก ดูแลรักษา เก็บเกี่ยว แปรรูป และจัดผลิตผลจำหน่าย คำนวณค่าใช้จ่าย  กำหนดราคาขาย จัดจำหน่าย  จดบันทึกการปฏิบัติงาน ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย และประเมินผล                                                                                         
          เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการปลูกพืชผักทั่วไป สามารถแปรรูปพืชผัก จำหน่ายได้ และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานการปลูกพืชผักทั่วไป เห็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและการพัฒนางานให้เหมาะสมสอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม ตระหนักในความสำคัญของการทำงานอย่างมีขั้นตอน และมีความรับผิดชอบ

ผลการเรียนรู้
๑. อธิบายความหมาย  ความสำคัญของการผลิตพืช
๒. บอกปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการปลูกพืช
๓. สามารถปฏิบัติดูแลบำรุงรักษาพืช
๔. บอกความปลอดภัยในการผลิตพืช
๕. บอกความสำคัญของพืชผักทั่วไป
๖. บอกขั้นตอนการผลิตพืชผักทั่วไปได้
๗. สามารถผลิตพืชผักทั่วไปบางชนิดได้
๘. บอกความหมายและความสำคัญของวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวได้
๙. สามารถแปรรูปผลผลิตพืช

รวมทั้งหมด  ๙  ผลการเรียนรู้






คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา  การปลูกพืชสมุนไพร                                                                   รหัสวิชา  ง ๒๐๒๔๗                                 
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ     ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น         ภาคเรียนที่ ๒
เวลา ๔๐  ชั่วโมง                                                                                  จำนวน   ๑  หน่วยกิต
ศึกษาความหมาย ความสำคัญและประโยชน์ของพืชสมุนไพรในท้องถิ่น เช่น ขิง ข่า ขมิ้น ตะไคร้ กระชาย ดีปลี ฯลฯ ลักษณะประเภทและสรรพคุณทาง ยาของพืชสมุนไพร การปลูกพืชสมุนไพร การดูแลบำรุงรักษา การเก็บเกี่ยว การจัดผลิตผลจำหน่าย
วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการตลาด เลือกพืชสมุนไพรสำหรับปลูกและ ขยายพันธุ์อย่างน้อย ๓ ชนิด การปลูกพืชสมุนไพรในแปลงหรือภาชนะต่าง ๆ ดูแลรักษาเก็บเกี่ยว จัดผลิตผลจำหน่าย คำนวณค่าใช้จ่ายกำหนดราคาขาย จัด จำหน่าย จดบันทึกการปฏิบัติงาน ทำบัญชีรายรับรายจ่าย และประเมินผล
เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการปลูกและขยายพันธุ์พืช สมุนไพรในท้องถิ่น และจำหน่ายได้

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
๑. อธิบายความหมาย  ความสำคัญของพืชสมุนไพรได้
๒. บอกประโยชน์ของพืชสมุนไพรได้
๓. บอกลักษณะประเภทของพืชสมุนไพรได้
๔. บอกสรรพคุณทางยาของพืชสมุนไพรได้
๕. แปรรูปผลผลิตจากพืชสมุนไพรได้
๖. ปลูกพืชสมุนไพร ดูแลบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวพืชสมุนไพรได้
๗. วิเคราะห์ข้อมูลความต้องการตลาดของพืชสมุนไพรได้
๘. ขยายพันธุ์พืชสมุนไพรได้อย่างน้อย ๓  ชนิด
๙. คำนวณค่าใช้จ่ายกำหนดราคาขาย จัดจำหน่ายพืชสมุนไพรได้
๑๐. จดบันทึกการปฏิบัติงาน และทำบัญชีรายรับ - รายจ่ายได้

รวมทั้งหมด  ๑๐  ผลการเรียนรู้






คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา การเลี้ยงไก่พื้นเมือง                                                                      รหัสวิชา  ง ๒๐๒๔๘                                 
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ     ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น          ภาคเรียนที่ ๑
เวลา ๔๐  ชั่วโมง                                                                                   จำนวน  ๑  หน่วยกิต
          ศึกษา สำรวจ วิเคราะห์ถึงความสำคัญและความต้องการของตลาด ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง        การคัดเลือกชนิดและพันธุ์ของไก่พื้นเมือง  การเลือกสถานที่ การเตรียมโรงเรือน การคัดเลือกพันธุ์ไก่  การเลี้ยงดูในระยะต่าง ๆ อาหารและการให้อาหาร การป้องกันโรคและสุขาภิบาล การคำนวณค่าใช้จ่าย กำหนดราคาขาย จัดจำหน่าย  จดบันทึกการปฏิบัติงาน ทาบัญชีรายรับ-รายจ่ายและประเมินผล
          โดยใช้ทักษะกระบวนการคิด กระบวนการแก้ปัญหา การแสวงหาความรู้ มีความสามารถทางานตามขั้นตอน กระบวนการฝึกปฏิบัติ ใช้อุปกรณ์และเครื่องมือได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย นำความรู้ ความคิด ความเข้าใจไปใช้ในชีวิตประจำวัน  
          เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อการเลี้ยงไก่พื้นเมือง  มีคุณธรรมที่สัมพันธ์กับอาชีพ เช่น ความซื่อสัตย์ ขยันอดทน รับผิดชอบ มีจิตสานึกในการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า โดยคำนึงถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง


ผลการเรียนรู้
          ๑. เห็นความสำคัญและเห็นช่องทางของการประกอบอาชีพการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
       ๒. อธิบายเกี่ยวกับประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
          ๓. บอกลักษณะของพันธุ์ไก่พื้นเมืองได้
          ๔. อธิบายการคัดเลือกพันธุ์ไก่ที่มีความเหมาะสมต่อการเลี้ยง                                                 
          ๕. อธิบายวิธีการดูแลไก่พื้นเมืองตามวัยต่างๆ
          ๖. การจัดอาหารสำหรับเลี้ยงไก่ 
       ๗. วิธีการให้น้ำ ให้อาหาร
       . สามารถคำนวณต้นทุนจำหน่ายผลผลิตออกสู่ท้องตลาด และสามารถจัดบัญชีรับ-จ่าย
       . อธิบายการสุขาภิบาล โรงเรือน และการป้องกันโรค การรักษาโรค และการให้วัคซีนไก่ได้
       ๑๐. มีเจตคติที่ดีต่อการเลี้ยงไก่   มีคุณธรรมที่สัมพันธ์กับอาชีพ   โดยคำนึงถึงหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

รวมทั้งหมด   ๑๐    ผลการเรียนรู้





คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา การเลี้ยงไก่เนื้อ                                                                          รหัสวิชา  ง  ๒๐๒๔๙                                  
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ     ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น          ภาคเรียนที่ ๑
เวลา  ๔๐  ชั่วโมง                                                                                  จำนวน  ๑  หน่วยกิต
          ศึกษาความเป็นมาสภาพการตลาด การคัดเลือกไก่เนื้อ การเตรียมโรงเรือนและอุปกรณ์ ลักษณะอาหารและการให้อาหาร การป้องกันรักษาโรคและศัตรูในไก่เนื้อและการจัดจำหน่าย สำรวจและวิเคราะห์ สภาพตลาด พันธุ์และอายุของไก่เนื้อที่จะนำมาเลี้ยง แหล่งผลิต แหล่งจำหน่ายไก่เนื้อ การจดบันทึก การคำนวณค่าใช้จ่าย การทำบัญชีรายรับรายจ่าย  เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการเลี้ยงดูให้อาหาร การป้องกันรักษาโรค และศัตรูของไก่เนื้อและจัดจำหน่ายได้
          เพื่อให้มีความเสียสละในการทำงาน  มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์สุจริต มุ่งมั่นในการทำงาน ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  ใช้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในการทำงานอย่างประหยัด คุ้มค่า  ถูกวิธี และมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบอาชีพสุจริต

ผลการเรียนรู้
๑.      สามารถความหมายความเป็นมา ความสำคัญและประโยชน์  ตลอดจนวิเคราะห์สภาพตลาดของ    
ไก่เนื้อได้
๒. สามารถบอกชนิดอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่ที่เหมาะสมและให้อาหารไก่เนื้อได้
๓.  สามารถบอกวิธีการเลี้ยงไก่เนื้อในแต่ระยะได้ถูกต้อง
๔.  บอกชื่อโรคที่เกิดขึ้นกับไก่เนื้อ ตลอดจนป้องกันโรคและศัตรูไก่เนื้อได้
๕.  สามารถจดบันทึกการปฏิบัติงานและการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายได้
๖.   สามารถการปฏิบัติงานเลี้ยงไก่เนื้อได้ตามกระบวนการทำงาน
๗.  สามารถสรุปผลการดำเนินการของไก่เนื้อได้

ราวทั้งหมด  ๗  ผลการเรียนรู้









คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา  การเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม                                                             รหัสวิชา  ง ๒๐๒๕๐                                 
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ     ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น          ภาคเรียนที่ ๑
เวลา ๔๐  ชั่วโมง                                                                                   จำนวน  ๑  หน่วยกิต
ศึกษาความต้องการและแนวโน้มของตลาดปลาสวยงาม สถานที่และอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงปลาสวยงาม  ชนิดของปลาสวยงามทั้งพันธุ์พื้นเมืองและพันธุ์ต่างประเทศ  การเลี้ยง  อาหารและการให้อาหาร  การผลิตอาหาร  และเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่าง ๆ  และการอนุบาล  การป้องกันโรคพยาธิและศัตรูปลาสวยงาม  การคัดปลา และการบรรจุสำหรับจำหน่าย
สำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลความต้องการของตลาดปลาสวยงาม เลือกเลี้ยงปลา เตรียมสถานที่  วัสดุและอุปกรณ์ เตรียมและให้อาหาร เพาะพันธุ์  ดูแลรักษา คัดปลาและบรรจุสำหรับจำหน่าย  คำนวณค่าใช้จ่าย  กำหนดราคาขาย  จัดจำหน่าย  จดบันทึกการปฏิบัติงาน  ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย  และประเมิน                                                                                        
          เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลาสวยงาม และมีทักษะในการเพาะพันธุ์ปลา  ให้อาหาร  ดูแลรักษา  ป้องกันโรคพยาธิและศัตรู  จับปลาจำหน่ายได้ และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงานการปลูกไม้ดอกประดับ เห็นแนวทางในการปฏิบัติงาน  การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและการพัฒนางานให้เหมาะสมสอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม ตระหนักในความสำคัญของการทำงานอย่างมีขั้นตอนและมีความรับผิดชอบ

ผลการเรียนรู้
๑. ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยงปลาสวยงาม
๒. ศึกษาข้อมูลก่อนการเลี้ยงปลา
๓. สามารถเตรียมพันธุ์ปลาได้
๔. สามารถเตรียมบ่อเลี้ยงปลาและวัสดุอุปกรณ์
๕. บอกประเภทและชนิดของปลาสวยงามได้
๖. สามารถเลี้ยงดูปลาสวยงามได้
๗. ป้องกันและรักษาปลาสวยงามได้
๘. สามารถจำหน่ายปลาสวยงามได้
๙. สามารถทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายได้

รวมทั้งหมด  ๙  ผลการเรียนรู้






คำอธิบายรายวิชา เพิ่มเติม
รายวิชา การเลี้ยงปลาน้ำจืด                                                                      รหัสวิชา  ง  ๒๐๒๕๑                                 
กลุ่มสาระการเรียนรู้  การงานอาชีพแลเทคโนโลยีสารสนเทศ     ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น          ภาคเรียนที่ ๑
เวลา ๔๐  ชั่วโมง                                                                                   จำนวน  ๑  หน่วยกิต
ศึกษาสภาพตลาดปลาน้ำจืด ชนิดและพันธุ์ของปลาน้ำจืด การเลือกสถานที่ การเตรียมบ่อเลี้ยงปลาน้ำจืด อาหารและการให้อาหาร การเลี้ยงดู การป้องกันโรคพยาธิและศัตรู การจับปลาสำหรับจำหน่าย
สำรวจและวิเคราะห์ความต้องการของตลาด ปลาน้ำจืด เลือกเลี้ยงปลาน้ำจืด เตรียมสถานที่และอุปกรณ์ เตรียมและให้อาหาร ดูแลรักษา จับปลา คำนวณค่าใช้จ่าย  กำหนดราคาขาย จัดจำหน่าย  จดบันทึกการปฏิบัติงาน  ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย  ประเมินผล  อภิปรายผล      
ปัญหาและแนวทางแก้ไข                                                                                         
          เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจ มีทักษะในการเลี้ยงปลาน้ำจืด  ให้อาหาร  ดูแลรักษา จับปลาจำหน่ายได้ และมีเจตคติที่ดีต่อการทำงาน เห็นแนวทางในการปฏิบัติงาน การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องและการพัฒนางานให้เหมาะสมสอดคล้องกับบรรทัดฐานของสังคม ตระหนักในความสำคัญของการทำงานอย่างมีขั้นตอน และมีความรับผิดชอบ

ผลการเรียนรู้
๑. ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการเลี้ยงปลาน้ำจืด
๒. ศึกษาข้อมูลก่อนการเลี้ยงปลา
๓. สามารถเตรียมพันธุ์ปลาได้
๔. สามารถเตรียมบ่อเลี้ยงปลาและวัสดุอุปกรณ์
๕. บอกประเภทและชนิดของปลาน้ำจืดได้
๖. สามารถเลี้ยงดูปลาน้ำจืดได้
๗. ป้องกันและรักษาปลาน้ำจืดได้
๘. สามารถถนอมอาหารและแปรรูปผลผลิตจากปลาน้ำจืด
๙. สามารถนำของเสียและผลพลอยได้จากปลาน้ำจืดกับเทคโนโลยีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

รวมทั้งหมด  ๙  ผลการเรียนรู้